Contact us     โทร :   062-802-6666 (คุณหญิง)
Follow us
การเตรียมพื้นที่หน้างานต้องเตรียมอะไรบ้าง คำถามนี้ลูกค้าหลายท่านสอบถามกันเข้ามาเยอะมากค่ะ เดี๋ยวเราจะมาตอบกันทีละคำถามเลยนะคะ

1.สร้างบนเนินเขาได้ไหม
ตอบ  สามารถสร้างได้ค่ะ แต่สำคัญคือหน้างานต้องมีน้ำและไฟฟ้าเพื่อให้ทีมช่างทำงานด้วยนะคะ

2.ต้องเตรียมพื้นที่ยังไง
ตอบ      ลูกค้าเตรียมพื้นโล่งไว้ค่ะ หรือจะเทพื้นปูนรอเพื่อก่อสร้างหรือนำบ้านมาตั้งค่ะแต่สำคัญคือ พื้นปูนต้องมีความหนา 
            15-20 เซนติเมตรขึ้นไปนะคะ เพื่อรองรับน้ำหนักบ้านค่ะ น้อยกว่านั้น พื้นปูนอาจตะรองรับน้ำไก้ไม่ดีมากนักอาจ                   เกิด การแตกได้ค่ะ

3.เทพื้นปูนราคารวมในราคาบ้านไหม
ตอบ      ราคาเทพื้นปูนยังรวมในราคาบ้านนะคะ ลูกค้า

4.แล้วจะหาทีมเทพื้นปูนได้ที่ไหน
ตอบ      ทางบริษัทมีบริการทีมงานเทพื้นให้ค่ะแต่ค่าบริค่าใช้จ่ายแยกจากราคาบ้านนะคะ คิดราคาเป็น ตรม ละ 800 บาท                   ราคา800บาทนี้จะคงอยู่ในช่วงราคาวัสดุปีพ.ศ 2565 ในอนาคตวัสดุปรับขึ้นราคาทางบริษัทต้องขออนุญาตปรับ                  ราคา ในแต่เขตเขตปี2565นี้ คอด ตรมละ 800 บาทค่ะ 

5.แล้วการเทพื้นปูนมันดียังไง
ตอบ      อย่างแรกเลยเพิ่มความมั่นคงแข็งแรงให้พื้นที่จะนำบ้านมาตั้ง สามารถต่อเติมทำห้องชั้นล่างได้อีกและเป็นระเบียม               ทำความสะอาดได้

6.สามารถนำบ้านตั้งบนพื้นดินเลยได้ไหม
ตอบ      ได้ค่ะ แต่ขึ้นอยู่กับความสบายใจของลูกค้าแต่ละท่าน ตามแบบสำรวจลูกค้าที่เราเคยให้บริการมา 85%
             ลูกค้าเลือก  ที่จะเทพื้นปูนค่ะ เพิ่มความ  แข็งแรงให้ตัวบ้านค่ะ 


ทำหน้าที่รับน้ำหนักจากโครงสร้างทั้งหมด แล้วถ่ายน้ำหนัก  ลงสู่เสาเข็ม หรือดินโดยตรง คุณสมบัติขอบดินที่รองรับฐานราก ควรมีความสามารถรองรับน้ำหนักบรรทุกได้โดยไม่เกิดการเคลื่อนตัวหรือพังทลายของดินใต้ฐานราก และต้องไม่เกิดการทรุดตัวลง มาก จนก่อให้เกิดความเสียหายแก่โครงสร้าง
ฐานรากถูกแบ่งออกตามลักษณะได้ 2 ชนิด คือ

1.ฐานรากตื้นหองรับหรือแบบไม่มีเสาเข็มรองรับ

2. ฐานรากลึกหรือแบบมีเสาเข็มรองรับ


                                                                 
1.ฐานรากตื้น  หรือฐานรากแบบไม่มีเสาเข็ม หมายถึง ฐานรากซึ่งลึกจาก ระดับผิวดิน น้อยกว่าหรือเท่ากับด้านที่สุด ของฐานราก โดย ฐานรากวางอยู่บนชั้นดินโดยตรง และไม่มีการตอกเสาเข็มเพื่อ รองรับฐานราก 
เหมาะกับสภาพพื้นดินที่มีความสามารถแบกรับน้ำหนักได้สูง สภาพดินที่ตอกเสาเข็มไม่ลง

เช่นพื้นดินลูกรังหรือ พื้นภูเขาทะเลทราย


2.ฐานรากลึก หรือฐานรากแบบมีเสาเข็ม หมายถึงฐานรากที่ถ่ายน้ำหนัก โครงสร้างลงสู่ดินด้วยเสาเข็ม เนื่องจากชั้นดินที่รับน้ำหนัก ปลอดภัยอยู่ในระดับลึก เหมาะกับการก่อสร้างบนดินอ่อน มีการออกแบบฐานรากให้มีขนาดเสาเข็มและความลึกให้มีลักษณะแตกต่างกัน เพื่อเพิ่มความสามารถในการรับน้ำหนัก และความ เหมาะสมในแต่ละพื้นที่